ระบบกล้ามเนื้อและกระดูก
ร่างกายแบ่งกล้ามเนื้อออกเป็น 3 ชนิด คือ
กล้ามเนื้อยึดกระดูกหรือกล้ามเนื้อลาย (skeletal muscle or striatedmuscle) กล้ามเนื้อเรียบ (smoothmuscle) กล้ามเนื้อหัวใจ
(cardiac muscle) โดยที่กล้ามเนื้อลายนั้นถูกควบคุมอยู่ภายใต้อำนาจจิตใจหรือรีเฟล็กซ์
ส่วนกล้ามเนื้อเรียบและกล้ามเนื้อหัวใจทำงานนอกอำนาจจิตใจ
1.
กล้ามเนื้อลายหรือกล้ามเนื้อยึดกระดูก (skeletonmuscle)
ภาพกล้ามเนื้อลาย
เป็นกล้ามเนื้อที่เกาะติดกับโครงกระดูกหรือกล้ามเนื้อลาย
เช่น กล้ามเนื้อแขน กล้ามเนื้อขา
จึงทำหน้าที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของร่างกายโดยตรง
เมื่อนำเซลล์กล้ามเนื้อเหล่านี้มาศึกษาด้วย กล้องจุลทรรศน์จะมองเห็นเป็นแถบลาย
เซลล์กล้ามเนื้อนี้มีลักษณะเป็นทรงกระบอกยาว แต่ละเซลล์
มีหลายนิวเคลียสอยู่ที่ขอบของเซลล์ มีลายตามขวางสีเข้มและสีจางสลับกัน
ซึ่งเห็นได้ชัดเจนเมื่อย้อมด้วยสีคนที่ออกกำลังเสมอเส้นใยกล้ามเนื้อจะโตขึ้น
และหนาขึ้น
แต่จำนวนไม่เพิ่มขึ้นการทำงานของกล้ามเนื้อยึดกระดูกถูกควบคุมโดยระบบประสาทโซมาติก
การทำงานของกล้ามเนื้อชนิดนี้ ร่างกายสามารถบังคับได้ซึ่งถือว่าอยู่ในอำนาจจิตใจ
โดยกล้ามเนื้อลายมีหน้าที่เคลื่อนไหวร่างกายที่ข้อต่อต่างๆเคลื่อนไหวลูกตาช่วยในการเคี้ยวและการกลืน
เคลื่อนไหวลิ้น เคลื่อนไหวใบหน้าแสดงอารมณ์ต่างๆและยังประกอบเป็นผนังอก
และผนังท้องตลอดจนการควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะและอุจจาระ
2.กล้ามเนื้อหัวใจ
(cardiacmuscle)
ภาพกล้ามเนื้อหัวใจ
กล้ามเนื้อหัวใจประกอบเป็นกล้ามเนื้อหัวใจเพียงแห่งเดียวอยู่นอกอำนาจจิตใจโดยควบคุมโดยระบบประสาทอัตโนมัติมีลักษณะเป็นเซลล์รูปทรงกระบอกมีลายตามขวางเป็นแถบสีทึบสลับกับสีจางเซลล์กล้ามเนื้อตอนปลายของเซลล์มีการแตกแขนง ไปประสานกับแขนงของเซลล์ใกล้เคียงเซลล์ทั้งหมดจึงหดตัวพร้อมกัน
และหดตัวเป็นจังหวะตลอดชีวิต
3.กล้ามเนื้อเรียบ
(smoothmuscle)
ภาพกล้ามเนื้อเรียบ
กล้ามเนื้อเรียบเป็นกล้ามเนื้อที่พบอยู่ตามอวัยวะภายในทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของอวัยวะย่อยอาหารและอวัยวะภายใน
ต่างๆ เช่นผนังกระเพาะอาหาร ผนังลำไส้ ผนังหลอดเลือด
และม่านตา เป็นต้น กล้ามเนื้อเหล่านี้ ประกอบด้วยเซลล์ที่มีลักษณะยาว หัวท้ายแหลม แต่ละเซลล์มี
1 นิวเคลียส ไม่มีลายพาดขวาง การทำงานของกล้ามเนื้อเรียบถูกควบคุมโดยระบบประสาทอิสระ (Autonomie Nervous System)มีลักษณะเป็นเซลล์รูปกระสวย
มีนิวเคลียสรูปไข่อยู่ตรงกลาง
เซลล์กล้ามเนื้อหัวใจ
กล้ามเนื้อลายและกล้ามเนื้อเรียบที่อวัยวะต่าง ๆ
คุณสมบัติของกล้ามเนื้อ
-มีความรู้สึกต่อสิ่งเร้า (Irritability) คือ
สามารถรับ Stimuli และตอบสนองต่อ Stimuli โดยการหดตัวของ กล้ามเนื้อ เช่น
กระแสประสาทที่กล้ามเนื้อเวลาที่จับโดนความร้อนหรือ กระแสไฟฟ้า
เรามักมีการหนีหรือหลบเลี่ยง
-มีความสามารถที่จะหดตัวได้ (Contractelity) คือ กล้ามเนื้อสามารถเปลี่ยนรูปร่างให้สั้นหนา และแข็งได้
-มีความสามารถที่จะหย่อนตัวหรือยืดตัวได้ (Extensibility) กล้ามเนื้อสามารถ ที่จะเปลี่ยน รูปร่างให้ยาวขึ้นกว่าความยาวปกติของมันได้
เมื่อถูกดึง เช่น กระเพาะอาหาร กระเพาะ ปัสสาวะ มดลูก เป็นต้น
-มีความยืดหยุ่นคล้ายยาง (Elasticity) คือ มีคุณสมบัติที่เตรียมพร้อมที่จะ กลับคืนสู่สภาพ เดิมได้ ภายหลังการ
ถูกยืดออกแล้ว ซึ่งคุณสมบัตินี้ทำให้ เกิด Muscle Tone ขึ้น
-มีความสามารถที่จะดำรงคงที่อยู่ได้ (Tonus) โดยกล้ามเนื้อมีการหดตัว
บ้างเล็กน้อย เพื่อเตรียมพร้อมที่จะ ทำงานอยู่เสมอ
การทำงานของกล้ามเนื้อ
การทำงานของกล้ามเนื้อนั้นจะต้องอาศัยปัจจัยต่างๆ ได้แก่
1. แคลเซียมไอออน
หากขาดแล้วจะเกิดอาการชัก
2. พลังงาน
ได้จากกระบวนการสลายอาหารภายในเซลล์
3. Myoglobin ทำหน้าที่นำออกซิเจนให้กล้ามเนื้อ
กล้ามเนื้อในส่วนต่างๆของร่างกาย
กล้ามเนื้อในร่างกายทั้งหมดมีอยู่ประมาณ 792 มัด
เป็นกล้ามเนื้อชนิดที่อยู่ในอำนาจจิตใจ 696 มัด
ที่ เหลืออีก 96 มัด
เป็นกล้ามเนื้อที่เราบังคับได้ไม่เต็มสมบูรณ์ ซึ่งได้แก่กล้ามเนื้อ
ที่ทำหน้าที่ในการหายใจ (Respiration) จาม (Sneezing) ไอ (Coughing)
ตัวอย่างกล้ามเนื้อที่หน้าสนใจ
กล้ามเนื้อที่ช่วยในการหายใจ (TheMuscles of respiration)
* Diaphragm ทำให้ช่องอกขยายโตขึ้นและช่วยดันปอดให้ลมออกมา
* External
Intercostal ยกซี่โครงขึ้นทำให้ช่องอกขยาย ใหญ่ขึ้น
* Internal
Intercostal ทำให้ช่องอกเล็กลง
กล้ามเนื้อของแขนกล้ามเนื้อของแขน แบ่งออกเป็นส่วน ๆ ดังนี้
(1) กล้ามเนื้อของไหล่ ที่สำคัญได้แก่ กล้ามเนื้อ deltoid เนื้อใหญ่หนา มีรูป เป็นสามเหลี่ยมคลุมอยู่ที่ข้อไหล่ตั้งต้นจากปลายนอกของกระดูก ไหปลาร้า และกระดูกสะบัก แล้วไปยึดเกาะที่พื้นนอกตอนกลางของกระดูกแขนท่อนบน ทำหน้าที่ยกต้นแขนขึ้นมาข้างบนให้ได้ระดับกับไหล่เป็นมุมฉาก
(2) กล้ามเนื้อของต้นแขน ที่สำคัญได้แก่ - ไบเซฟส์แบรคิไอ (biceps brachii) เป็นกล้ามเนื้อที่อยู่ด้านหน้าของ ต้นแขน มีรูปคล้ายกระสวย ทำหน้าที่งอข้อศอกและหงายมือ - ไตรเซฟส์แบรคิไอ (triceps brachii) เป็นกล้ามเนื้อมัดใหญ่อยู่ด้าน หลังของต้นแขน ปลายบนแยกออกเป็น 3 หัว ช่วยทำหน้าที่เหยียดปลายแขนหรือข้อศอก
(3) กล้ามเนื้อของปลายแขน มีอยู่หลายมัด จำแนกออกเป็นด้านหน้า และ ด้านหลัง ในแต่ละด้านยังแยกเป็น 2 ชั้น คือ ชั้นตื้น และชั้นลึก ทำหน้าที่เหยียดข้อศอก เหยียดและงอมือ เหยียดนิ้วมือ กระดกข้อมือ งอข้อมือ พลิกแขนและคว่ำแขน ฯลฯ
(4) กล้ามเนื้อของมือ เป็นกล้ามเนื้อสั้น ๆ ทำหน้าที่เคลื่อนไหวนิ้วมือ
(1) กล้ามเนื้อของไหล่ ที่สำคัญได้แก่ กล้ามเนื้อ deltoid เนื้อใหญ่หนา มีรูป เป็นสามเหลี่ยมคลุมอยู่ที่ข้อไหล่ตั้งต้นจากปลายนอกของกระดูก ไหปลาร้า และกระดูกสะบัก แล้วไปยึดเกาะที่พื้นนอกตอนกลางของกระดูกแขนท่อนบน ทำหน้าที่ยกต้นแขนขึ้นมาข้างบนให้ได้ระดับกับไหล่เป็นมุมฉาก
(2) กล้ามเนื้อของต้นแขน ที่สำคัญได้แก่ - ไบเซฟส์แบรคิไอ (biceps brachii) เป็นกล้ามเนื้อที่อยู่ด้านหน้าของ ต้นแขน มีรูปคล้ายกระสวย ทำหน้าที่งอข้อศอกและหงายมือ - ไตรเซฟส์แบรคิไอ (triceps brachii) เป็นกล้ามเนื้อมัดใหญ่อยู่ด้าน หลังของต้นแขน ปลายบนแยกออกเป็น 3 หัว ช่วยทำหน้าที่เหยียดปลายแขนหรือข้อศอก
(3) กล้ามเนื้อของปลายแขน มีอยู่หลายมัด จำแนกออกเป็นด้านหน้า และ ด้านหลัง ในแต่ละด้านยังแยกเป็น 2 ชั้น คือ ชั้นตื้น และชั้นลึก ทำหน้าที่เหยียดข้อศอก เหยียดและงอมือ เหยียดนิ้วมือ กระดกข้อมือ งอข้อมือ พลิกแขนและคว่ำแขน ฯลฯ
(4) กล้ามเนื้อของมือ เป็นกล้ามเนื้อสั้น ๆ ทำหน้าที่เคลื่อนไหวนิ้วมือ
กล้ามเนื้อของขากล้ามเนื้อของขา จำแนกออกเป็น
(1) กล้ามเนื้อตะโพก กล้ามเนื้อมัดใหญ่ที่สุดของตะโพก ได้แก่ กลูเทียส แมกซิมัส (gluteus maximus)มีลักษณะหยาบและอยู่ตื้น ช่วยทำหน้าที่เหยียดและกางต้นขา นอกจากนี้ยังมีมัดเล็ก ๆ อยู่ใต้กล้ามเนื้อมัดใหญ่นี้ ช่วยกางและหมุนต้นขาเข้าข้างใน
(2) กล้ามเนื้อของต้นขา ประกอบด้วย - กล้ามเนื้อด้านหน้าของต้นขา มีหน้าที่เหยียดปลายขา - กล้ามเนื้อด้านในของต้นขา มีหน้าที่หุบต้นขา - กล้ามเนื้อด้านหลังของต้นขา มีหน้าที่งอปลายขา
(3) กล้ามเนื้อของปลายขา ประกอบด้วย - กล้ามเนื้อด้านหลังของปลายขา ทำหน้าที่งอเท้าขึ้นเหยียด นิ้วเท้าและหันเท้าออกข้างนอก - กล้ามเนื้อด้านนอกของปลายขา ช่วยทำหน้าที่เหยียดปลายเท้า เหมือนกล้ามเนื้อด้านหลังของปลายขา
(4) กล้ามเนื้อของเท้า เป็นกล้ามเนื้อสั้น ๆ เหมือนกับของมือ อยู่ที่หลังเท้า และฝ่าเท้า มีหน้าที่ช่วยยึดเท้าให้เป็นส่วนโค้งและเคลื่อนไหวนิ้วเท้า
(1) กล้ามเนื้อตะโพก กล้ามเนื้อมัดใหญ่ที่สุดของตะโพก ได้แก่ กลูเทียส แมกซิมัส (gluteus maximus)มีลักษณะหยาบและอยู่ตื้น ช่วยทำหน้าที่เหยียดและกางต้นขา นอกจากนี้ยังมีมัดเล็ก ๆ อยู่ใต้กล้ามเนื้อมัดใหญ่นี้ ช่วยกางและหมุนต้นขาเข้าข้างใน
(2) กล้ามเนื้อของต้นขา ประกอบด้วย - กล้ามเนื้อด้านหน้าของต้นขา มีหน้าที่เหยียดปลายขา - กล้ามเนื้อด้านในของต้นขา มีหน้าที่หุบต้นขา - กล้ามเนื้อด้านหลังของต้นขา มีหน้าที่งอปลายขา
(3) กล้ามเนื้อของปลายขา ประกอบด้วย - กล้ามเนื้อด้านหลังของปลายขา ทำหน้าที่งอเท้าขึ้นเหยียด นิ้วเท้าและหันเท้าออกข้างนอก - กล้ามเนื้อด้านนอกของปลายขา ช่วยทำหน้าที่เหยียดปลายเท้า เหมือนกล้ามเนื้อด้านหลังของปลายขา
(4) กล้ามเนื้อของเท้า เป็นกล้ามเนื้อสั้น ๆ เหมือนกับของมือ อยู่ที่หลังเท้า และฝ่าเท้า มีหน้าที่ช่วยยึดเท้าให้เป็นส่วนโค้งและเคลื่อนไหวนิ้วเท้า
โดยเมื่อสมองสั่งให้ร่างกายเคลื่อนไหว
กล้ามเนื้อจะเกิดการหดตัวและคลายตัว ทำงานประสานเป็นคู่ ๆ พร้อมกัน แต่ตรงข้ามกัน
ในขณะที่กล้ามเนื้อมัดหนึ่งหดตัว กล้ามเนื้ออีกมัดหนึ่งจะคลายตัว
การทำงานของกล้ามเนื้อในลักษณะนี้ เรียกว่า Antagonisticmuscle
มัดกล้ามเนื้อไบเซพ (Biceps) อยู่ด้านบน และไตรเซพ
(Triceps) อยู่ด้านล่างของแขน
ไบเซพหรือ (Flexors)คลายตัว ไตรเสพ หรือ (Extensors) หดตัว»» แขนเหยียดออก
ไบเซพหรือ
(Flexors)หดตัว
ไตรเสพ หรือ (Extensors) คลายตัว»» แขนงอเข้า
ระบบกระดูก (Skeletal system)
มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตทีมีวิวัฒนาการที่ซับซ้อน
มีอวัยวะต่างๆทำงานสอดคล้องกันเป็นระบบ
กระดูกคนเรามีทั้งหมด 206ชิ้น แบ่งประเภทได้ดังนี้
1. กระดูกกะโหลกศรีษะ
(Cranium)
กระดูกหน้าผาก
(Frontal bone) 1 ชิ้น
กระดูกด้านข้างศรีษะ
(Parietal bone) 2 ชิ้น
กระดูกขมับ (Temporal bone) 2 ชิ้น
กระดูกท้ายทอย (Occipital bone) 1 ชิ้น
กระดูกขื่อจมูก (Ethmoid bone) 1 ชิ้น
กระดูกรูปผีเสื้อ (Sphenoid bone) 1 ชิ้น
2. กระดูกใบหน้า
(Bone of face)
กระดูกสันจมูก (Nasal bone) 2 ชิ้น
กระดูกกั้นช่องจมูก (Vomer) 1 ชิ้น
กระดูกข้างในจมูก (Inferior concha) 2 ชิ้น
กระดูกถุงน้ำตา
(Lacrimal bone) 2 ชิ้น
กระดูกโหนกแก้ม (Zygomatic bone) 2 ชิ้น
กระดูกเพดาน (Palatine bone) 2 ชิ้น
กระดูกขากรรไกรบน (Maxillary) 2 ชิ้น
กระดูกขากรรไกรล่าง (Mandible) 1 ชิ้น
3. กระดูกหู (Bone
of ear)
กระดูกรูปฆ้อน (Malleus) 2 ชิ้น
กระดูกรูปทั่ง (Incus) 2 ชิ้น
กระดูกรูปโกลน (Stapes) 2 ชิ้น
4. กระดูกโคนลิ้น
(Hyoid bone) 1 ชิ้น
5. กระดูกสันหลัง
(Vertebrae) 26 ชิ้น ได้แก่
กระดูกสันหลังส่วนคอ (Cervical vertebrae) 7 ชิ้น
กระดูกสันหลังส่วนอก (Thoracic vertebrae) 12 ชิ้น
กระดูกสันหลังส่วนเอว (Lumbar vertebrae) 5 ชิ้น
กระดูกกระเบนเหน็บ (Sacrum) 1 ชิ้น
กระดูกก้นกบ (Coccyx) 1 ชิ้น
6. กระดูกทรวงอก
(Sternum) 1 ชิ้น
7. กระดูกซี่โครง
(Rib) 24 ชิ้น
กระดูกระยางค์
(Appendicular skeletal) ประกอบด้วย กระดูก 126 ชิ้น ได้แก่
1. กระดูกไหล่ (Shoulder
girdle) ประกอบด้วย
กระดูกไหปลาร้า (Clavicle) 2 ชิ้น
กระดูกสะบัก (Scapular) 2 ชิ้น
2. กระดูกต้นแขน
(Humerus) 2 ชิ้น
3. กระดูกปลายแขน
(Bone of forearm) ประกอบด้วย
กระดูกปลายแขนท่อนใน (Ulna) 2 ชิ้น
กระดูกปลายแขนท่อนนอก (Radius) 2 ชิ้น
4. กระดูกข้อมือ
(Carpal bone) 16 ชิ้น
5. กระดูกฝ่ามือ
(Metacarpal bone) 10 ชิ้น
6. กระดูกนิ้วมือ
(Phalanges) 28 ชิ้น
7. กระดูกเชิงกราน
(Hip bone) 2 ชิ้น
8. กระดูกต้นขา
(Femur) 2 ชิ้น
9. กระดูกหน้าแข้ง
(Tibia) 2 ชิ้น
10. กระดูกน่อง
(Fibula) 2 ชิ้น
11. กระดูกข้อเท้า
(Tarsal bone) 14 ชิ้น
12. กระดูกฝ่าเท้า
(Metatarsal bone) 10 ชิ้น
13. กระดูกนิ้วเท้า
(Phalanges) 28 ชิ้น
จำนวนของกระดูกทั้งหมดในร่างกาย หมายถึง
กระดูกในผู้ใหญ่ที่เจริญเต็มที่แล้ว
มีทั้งสิ้น206 ชิ้น โดยแบ่งเป็นส่วนต่างๆ ดังนี้
กะโหลกศรีษะ( Cranium) 8 ชิ้น
กระดูกหน้า (Face) 14 ชิ้น
กระดูกหู (Ear) 6 ชิ้น :กระดูกโคนลิ้น (Hyoid
bone) 1 ชิ้น
กระดูกสันหลัง 26 ชิ้น
กระดูกหน้าอก (Sternum) 1 ชิ้น
กระดูกซี่โครง (Ribs) 24 ชิ้น
กระดูกแขน (Upper extremities) 64 ชิ้น
กระดูกขา (Lower extremities) 62 ชิ้น
1. กระดูกยาว ได้แก่ กระดูกแขน กระดูกขา
2. กระดูกสั้น ได้แก่ กระดูกข้อมือ กระดูกข้อเท้า
3. กระดูกแบน ได้แก่ กระดูกซี่โครง กระดูกอก กระดูกสะบัก
4. กระดูกยาว รูปร่างไม่แน่นอน ได้แก่ กะโหลกศีรษะ
กระดูกสันหลัง
กระดูกเชิงกราน
5. กระดูกลม
6. กระดูก โพรง กะโหลกศีรษะ
1. ช่วยรองรับอวัยวะต่างๆ ให้ทรงและตั้งอยู่ในตำแหน่งที่ควรอยู่
(Organ of support)
2. เป็นส่วนที่ใช้ในการเคลื่อนไหว เช่น
พาร่างกายย้ายจากที่หนึ่งไปยังอีกที่
หนึ่ง (Instrument of locomotion)
3. เป็นโครงของส่วนแข็ง (Framework
of hard material)
4. เป็นที่ยึดเกาะของกล้ามเนื้อต่างๆ และ Ligament เพื่อทำหน้าที่เป็นคานให้
กล้ามเนื้อทำหน้าที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหว
5. ช่วยป้องกันอวัยวะสำคัญไม่ให้ได้รับอันตราย เช่น สมอง ปอด
และหัวใจ
เป็นต้น
6. ทำให้ร่างกายคงรูปได้ (Shape
to whole body)
8. เป็นที่เก็บแร่ธาตุ Calcium ในร่างกาย
9. ป้องกันเส้นประสาทและหลอดเลือดที่ทอดอยู่ตามแนวของกระดูกนั้น
กระดูกที่ละท่อนต่อเชื่อมกันด้วยเอ็นซึ่งต่อกันได้หลายแบบแล้วแต่การเคลื่อนที่
การที่
กระดูกประกอบด้วยชิ้นเล็กชิ้นน้อยมาต่อๆกัน ทำให้ร่างกายเคลื่อนไหวอย่างนิ่มนวลราบรื่น มากขึ้น
ทางซ้ายคือแบบบานพับ
ขวาคือแบบโพรง
1. เคลื่อนได้ระนาบเดียวกัน(แบบบานพับ) เช่น ข้อศอก ข้อเข่า
2. เคลื่อนได้2 ระนาบ เช่น ข้อมือ กระดกขึ้น-ลง
3. เคลื่อนได้ 3 ระนาบ เช่น ข้อไหล่ ข้อสะโพก
อาหารและยาที่เรากินหรือฉีดเข้ากล้ามเนื้อ จะซึมผ่านกล้ามเนื้อไป
การฉีดเข้าข้อต่อ
โดยตรงอาจเกิดอันตรายได้ เพราะยาบางชนิดสามารถทำลายกระดูกอ่อนได้ การนวดมีส่วน ทำให้อาการและยาซึมผ่านข้อต่อได้เร็วขึ้นและมักไม่มีผลเสียใดๆ การบำรุงรักษาและพัฒนาโครงร่าง ข้อเคล็ด เกิดจากเส้นเอ็นที่ยึดติดกระดูกฉีกขาด ทำให้อักเสบบวมบริเวณข้อต่อ และห้อ เลือด รักษาโดยใช้น้ำแข็งประคบ
1. ท่ายืนควรยืดไหล่หลังตรง แอ่นเล็กน้อยบริเวณคอ
2. หน้าอกแอ่น ตะโพกยื่น
ทำให้กระดูกสันหลังช่วงเอวแอ่นมากทำให้เกิดอา
การปวดหลัง
3. การนั้งเอามือเท้าคาง หลังงอ ทกให้กรดูกสันหลังโก่ง ปวดหลัง
4. การเดินเอาส้นเท้าลงก่อน ทำให้พยุงน้ำหนักได้ดี
เดินเร็วแล้วมีความรู้สึกว่า
ตัวเบากว่าการเดินเอาปลายเท้าลง
อาหารช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงให้กระดูก เช่นอาหารพวกที่มีแคลเซียมสูง ได้แก่
นมสด ไข่แดง ผักใบเขียว ผลไม้ และอาหารที่มีวิตามินดี เช่น น้ำมันตับปลา ผักสด การออก กำลังกายเป็นประจำเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยพัฒนากระดูกให้เจริญอย่างเต็มที่และแข็งแรง ระวัง อย่าให้น้ำหนักตัวมากเกินไปเพราะอาจทำให้ข้อต่อชำรุดเสื่อมสภาพเร็ว โรคเกี่ยวกับกระดูก มาจากหลายสาเหตุ 1. จากพันธุกรรม
2. จากเชื้อโรค
3. จากสิ่งแวดล้อม
4. จากวัย, อายุที่เพิ่มขึ้น
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น